ปลาอโรวาน่าสีทองที่พบในไทย
ราวกลางปี พ.ศ.2545 มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงข่าวคอลัมน์เล็กๆอยู่หน้าด้านใน ว่ามีการจับปลามังกรสีทองได้ในไทย เนื้อความในข่าวบอกว่า ที่ตลาดของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในจังหวัดยะลา ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติบางลางมีชาวป่าที่อาศัยอยู่บนนั้น ได้นำเอาปลามังกรและของป่าที่หาได้ นำลงมาแลกเปลี่ยนอาหาร และสิ่งยังชีพ ปลามังกรที่นำลงมา มีจำนวน 3 ตัว และเสียชีวิตแล้ว ขนาดความยาวโดยประมาณ 70 เซ็นติเมตร เกล็ดตามลำตัวมีขนาดใหญ่ และมีสีทอง ปกติปลามังกรที่พบเมืองไทยจะมีเพียง ตะพัดเขียว และตะพัดสีนาก โดยแหล่งที่ค้นพบจะอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง สุราษฏร์ธานี และที่บึงนํ้าใสจังหวัดยะลาสำหรับปลาอโรวาน่าสีทองจะพบที่ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียชาวป่าที่จับปลามังกรและนำของป่ามาเเลกปลี่ยนสิ่งของและอาหารนี้อาศัยอยู่ บนเทือกเขาบนอุทยานแห่งชาติบางลาง มานานแล้ว และอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆมีไม่กี่ครอบครัว ไม่สามรถพูดภาษาไทยได้ อาหารมักหาเอาตามป่า และจับปลาในลำธารบนเทือกเขานั่นเอง ซึ่งบางครั้งหาก้ได้ปลามังกรชนิดนี้ ก็จะพากันนำไปกินเป็นอาหาร นานๆทีจึงจะนำของป่าที่หาไดมากพอ้ ลงมาแลกเปลี่ยนยังหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเชิงเขา ซึ่งใช้เวลาในการเดินเท้ามานานถึง 3 วันเมื่อได้สอบถามกับผู้ที่ทำงานอยู่ในกรมประมงท่านหนึ่ง ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับ การพบปลาอโรวาน่าสีทอง ว่ามี่ปลาชนิดนี้อยู่จริงและเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับปลาอโรวาน่าสายพันธุ์ทองมาเลย์ ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในบรรดาปลาอโรวาน่าเอเซีย พร้อมทั้งยังได้ให้รายละเอียดว่าเมื่อครั้งที่กรมประมงจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้เริ่มโครงการเพาะพันธุ์ปลาอโรวาน่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2528 นั้น ทางกรมประมงได้ออกสำรวจตามแม่นํ้าสายต่างๆ ที่มีข่าวว่ามีการจับปลาอโรวาน่าได้ โดยรวบรวมทั้งการรับซื้อจากชาวบ้านที่ประกอบอาชีพการประมงและออกค้นหาจับเองจากแหล่งนํ้านั้นๆ ปลาอโรวาน่าที่รวบรวมได้จะ เป็นปลาอโรวาน่าเขียว (ตะพัดเขียว) และอโรวาน่าสีนากลักษณะของแหล่งนํ้าที่ค้นพบ มักจะเป็นแม่นํ้าที่มีทางออกติดกับทะเล หรือลำธารที่มีนํ้าสะอาดไหลอยู่ตลอดเวลา เช่น บริเวณต้นนํ้าเหนือเขื่อนรัชประภา และบึงนํ้าใสอําเภอรามัน จ.ยะลา ในขณะนั้นปลาอโรวาน่าที่รับซื้อจากชาวบ้าน ไม่ได้มีราคาสุงอย่างเช่นในปัจจุบันราคารับซื้อจากชาวบ้านในขณะนั้น มีราคาเพียงตัวละ 3-400บาท แต่ในปัจจุบันนี้ มีผู้รับซื้อจากกรุงเทพเพื่อนําไปขายต่อ ทำให้ราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว ชาวบ้านที่จับปลาอโรวาน่าได้ จึงมักนิยมขายให้กับพ่อค้าจากกรุงเทพ จนปัจจุบันมีปลาอโรวาน่าเหลืออยู่น้อยมากเจ้าหน้าที่กรมประมงเคยออกไปสำรวจ บนเอุทยานแห่งชาติบางลาง และล่องเรือออกไปตามแหล่งนํ้าบนเทือกเขา ก็ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคอย่างยิ่ง เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ อยู่บนภูเขาสูงและมีป่ารกทึบ ไม่สามารถนำรถยนต์ขึ้นไปได้ ต้องอาศัยเพียงเท้าเดินได้อย่างเดียวและมักมีขบวนการโจรก่อการร้ายหลบซ่อนอยู่ และบางครั้งของการออกสำรวจ มักจะมีกระสุนปืนของฝ่ายผู้ก่อการร้าย พุ่งสาดเข้าใส่อยู่เสมอจนต้องยุติโครงการสำรวจเอาไว้เพียงเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถที่จะรับซื้อปลาอโรวาน่าซึ่งมีเกล็ดสีทอง ได้บ้างจากชาวป่าที่นำ ลงมาขายให้ที่หมุ่บ้านใกล้ชายเขา เจ้าหน้าที่กรมประมงท่านนี้ ได้ให้เหตุผลที่มีปลาอโรวาน่าสีทอง เช่นเดียวกับของประเทศมาเลเซียนี้ว่า แม่นํ้าลำธารที่อยู่บนเทือกเขาซึ่งมีอาณาเขตยาวจนเข้าไปถึงในประเทศมาเลเซีย โดยแหล่งนํ้าเหล่านี้ถือเป็นต้นนํ้า ของแม่นํ้าหลายสายในประเทศไทย และประเทศมาเลเซียอีกทั้งสถานที่ก็เป็นป่าดิบชื้น มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ไม่มีผู้รุกรานป่าเหมือนเช่นอุยานแห่งชาติอื่นๆ โดยอุทยานแห่งชาติบางลางนี้ยังสามารถพบสัตว์ป่าที่แทบสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น กระซู่ กระทิง นกเงือก และสัตว์หายากประเภทอื่นอีกหลายชนิด(รายละเอียดของอุทยานแห่งชาติบางลาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง บริเวณป่ารอบๆ อ่างเก็บน้ำที่สมบูรณ์ ทะเลสาบ เกาะ และมีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา - บาลาตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมเนื้อที่ประมาณ 461.04 ตารางกิโลเมตร หรือ 288,150 ไร่ )